วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ICT กับ อาเซียน

ไอซีที ร่วมจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 
 
 นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านไอซีทีเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการวางกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านไอซีที โดยการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน (ASEAN ICT MASTERPLAN 2015) หรือ AIM 2015 ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงานและแนวทางความร่วมมือด้านไอซีทีของอาเซียนในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558
แผนแม่บทฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้มีความแข็งแกร่งและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยได้กำหนดเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ คือ 1) ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้อาเซียนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2) อาเซียนได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีแห่งหนึ่งของโลก 3) ประชากรอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 4) ไอซีทีมีส่วนช่วยส่งเสริมการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน รวมทั้งได้มีการวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (Economic transformation) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างศักยภาพให้แก่ประชาชน (People empowerment and engagement) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure development) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital development) และยุทธศาสตร์ที่ 6 การลดช่องว่างทางด้านดิจิทัล (Bridging the digital divide)
“กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานหลักด้านไอซีทีของประเทศไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน จึงเข้าไปร่วมผลักดันการดำเนินงานในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้วยการริเริ่มเสนอแนวความคิดจัดทำแผนทิศทางการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN e-Services Roadmap) ซึ่งที่ประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 ได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดทำแผน โดยจะมุ่งเน้นไปที่การผลักดันให้เกิดการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ในประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ ให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ และภาคธุรกิจต่างๆ ซึ่งสอดรับกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2558” นางเมธินี กล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินการนั้นจะเริ่มตั้งแต่การศึกษาและสำรวจสถานะการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมทั้งแผนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ สำรวจความต้องการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของประชาชน และภาคธุรกิจ ตลอดจนศึกษาถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่จะพัฒนาเป็นบริการร่วม (Shared services) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
“กระทรวงฯ ได้ทำการศึกษากรอบแนวทาง (Framework) และกรณีศึกษาการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอื่นๆ อาทิ APEC EU ฯลฯ และนำข้อมูลมาใช้ประกอบการจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ และบริการอิเล็กทรอนิกส์ร่วมระหว่างประเทศ โดยจะมีการเสนอแนะมาตรการในการส่งเสริม และจูงใจให้มีการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาเนื้อหา (Content) ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจในอาเซียนใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย ซึ่งการจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap นี้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง” นางเมธินี กล่าว
สำหรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสามารถพัฒนาเป็นบริการร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) บริการการเคลื่อนย้ายบุคคล (Movement of people) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดทำ Roadmap นี้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคคล ทั้งในด้านของการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement: MRA) เพื่ออำนวยความสะดวกในการยอมรับคุณสมบัติของนักวิชาชีพ โดยมีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพที่สำคัญร่วมกัน เพื่อการถ่ายเทแรงงานที่มีฝีมือได้โดยเสรี มากขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวก โดยลดขั้นตอนและกระบวนการทางเอกสารในการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน
นอกจากนี้ในด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมือง และลดปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเปิดเสรีการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยจะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในกระบวนการออกวีซ่าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การจัดทำ ASEAN Single Visa รวมทั้งการส่งเสริมการตลาดร่วมกันเพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียนในฐานะแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน (ASEAN Single Destination)
2) การเคลื่อนย้ายสินค้า (Movement of goods) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap จะมีส่วนสนับสนุนให้การพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า – ส่งออก ด้วยระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว หรือระบบ ASEAN Single Window ที่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการพัฒนาในประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ให้สามารถขยายการพัฒนาไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ครบทุกประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรต่างๆ อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าของอาเซียน ในปี 2558
 
**การแต่งกายของประเทศต่างๆในอาเซียน**
 
 
thailand


 

 ชุดแต่งกายประจำชาติไทย
 
cambodia


 

ชุดแต่งกายประจำชาติกัมพูชา  
 
indonisiaload
ชุดแต่งกายประจำชาติอิโดนีเซีย

malasia
ชุดแต่งกายประจำชาติมาเลเซีย

laos
ชุดแต่งกายประจำชาติลาว

myanmar
ชุดแต่งกายประจำชาติพม่า

Philipines
ชุดแต่งกายประจำชาติฟิลิปินส์

singkapore
ชุดแต่งกายประจำชาติอินโดนีเซีย

vietnam
ชุดแต่งกายประจำชาติเวียดนาม

bruneipicture
ชุดแต่งกายประจำชาติบรูไน

ชุดแต่งกายประจำชาติของแต่ละประเทศในอาเซียนนั้นสะท้อนให้เราเห็น วัฒนธรรม สังคมที่หลากหลายของแต่ละประเทศส่วนใหณ่นั้นมีอิทธิพลมาจากการนับถือศาสนาซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบวัฒนธรรม สังคม ประเพณีของแต่ละประเทศซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันออกไปอยู่บ้าง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น