วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง


ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง
   “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์                  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีใครหลายคนอาจเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงคงนำไปประยุกต์ใช้ได้แค่การเกษตรกรรม ปลูกพืชทำสวนเก็บกินกันอย่างเพียงพอ มีใช้มีกินแค่ครัวเรือนเท่านั้น หากแต่ว่าในปัจจุบันมีการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับด้านอื่นๆ อีกด้วย รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยุคสมัยปัจจุบันสังคมโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของคนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การโทรคมนาคม การใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นต้น ฉะนั้นจึงแยกไม่ออกกันเลยทีเดียวระหว่างความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศกับมนุษย์แต่ท่ามกลางกระแสที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้รุดหน้าไปอย่างก้าวไกลยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็ถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย สังคมทุนนิยมในปัจจุบันปลุกให้มนุษย์ดำรงชีวิตกันอย่างความไม่รู้จักคำว่า “เพียงพอ” มีเท่านี้จะเอาเท่านั้น ไม่มีเลยก็ยิ่งจะดิ้นรนเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ เช่นเดียวกันกับการบริโภคเทคโนโลยีฯ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างเช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ ในปัจจุบันมีการแจกซิมการ์ดและโฆษณาชวนเชื่อให้ใช้งาน โดยการนำเอาโปรโมชั่นส่งเสริมการขายโดยเอาอัตราราคาการใช้งานมาเป็นตัวล่อ เพื่อให้มีลูกค้ามาใช้บริการเครือข่ายของตัวเองมากขึ้น โดยหารู้ไม่ว่าเราได้ซิมการ์ดมาฟรีๆ แต่ต้องมาเสียค่าบริการโทรศัพท์เอาเอง แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้อย่างไร ข้อเสียอีกอย่างของการมีซิมการ์ดมากกว่า 1 หมายเลขคือการที่ต้องมีโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อมารองรับจำนวนของซิมการ์ดที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้จำเป็นต้องหาซื้อโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น เรื่องของค่านิยมการใช้โทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนในสังคมตอนนี้ต่างหลงใหลไปกับวัตถุนิยม โทรศัพท์มือถือมิใช่มีไว้เพียงใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรออกและรับสายเพียงอย่างเดียวแล้ว หากแต่ยังถูกใช้งานโดยการเพิ่มลูกเล่นและฟังก์ชั่นอื่นๆเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะกล้องถ่ายรูป มัลติมีเดียแมสเสจ การดูหนัง รายการทีวี ฟังเพลง บลูทูธ เอ็ดจ์ เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ ผู้บริโภคก็ต้องก้าวตามให้ทันอยู่เสมอ เพราะถ้าตามไม่ทันไม่มีไว้ใช้ก็เหมือนกับว่าเป็นคนล้าสมัย เข้าสังคมกับใครเขาก็ไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นค่านิยมที่ผิดๆ ที่วัยรุ่นสมัยนี้มักนิยมที่จะตามให้ทันสมัยอยู่ตลอด โดยไม่คำนึงถึงว่าได้ใช้งานอย่างเป็นประโยชน์หรือไม่ หรือเป็นวัตถุนิยมเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้นบางคนก็ใช้ไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ยิ่งจะทำให้เทคโนโลยีนั้นดูลดน้อยด้อยค่าลงไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการดูสื่อลามกอนาจาร การเผยแพร่ภาพโป๊ การส่งวีดีโอคลิปลามกผ่านทางมือถือโดยมัลติมีเดียแมสเสจ การส่งต่อภาพอนาจารกันผ่านบลูทูธ ตลอดไปจนอาชญากรรมการบังคับขืนใจโดยถ่ายภาพเหยื่อที่ถูกกระทำและมีการส่งต่อกันเป็นคลิปวีดีโอหรือไฟล์ภาพส่งต่อๆกันหรือนำไปขายซึ่งนำมาถึงความอับอายเสียหายต่อผู้ถูกกระทำ ปัญหาเหล่านี้อยู่ที่การ “เลือก” ที่จะใช้อย่างเหมาะสม ไม่ได้อยู่ที่ว่าการจะใช้ให้มากที่สุด การที่เราเลือกที่จะใช้อย่างเป็นประโยชน์ ไม่ก่อความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น ใช้อย่างมีสติ จะเกิดประโยชน์ไม่เกิดโทษและพิษภัยอันตรายต่อผู้อื่น แล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะมาสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรกัน คำตอบก็คือเรานำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้มาจัดการกับกระแสไอทีที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้เลยทีเดียว ประการแรก ควรบริโภคไอทีอย่างพอประมาณ ไม่มากไม่น้อยเกินไป เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลต่างๆ มีมากมาย บางครั้งก็มากเกินไป เราจึงต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคในการกลั่นกรองข้อมูลเหล่านั้น เช่น การใช้บริการค้นหาข้อมูลหรือเซิร์ช เอนจิ้น ให้มีความชำนาญ สามารถหาข้อมูลที่มีคุณภาพและทำให้เสียเวลาไม่มากในการหาข้อมูลที่ต้องการ แต่ก็ต้องมีคุณธรรมเป็นกรอบแนวทางด้วยในการที่จะไม่ลักลอบเอาข้อมูลที่เป็นความลับมาเผยแพร่ หรือการปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อทำลายระบบ และควรใช้อย่างเหมาะสมตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งาน เราอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุด แต่เรารู้จักที่จะเลือกใช้รุ่นที่เราจะใช้งานได้ประโยชน์สูงสุด บางองค์กรหมดเงินลงทุนไปกับระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศไปหลายล้านบาท แต่พนักงานในองค์กรบางคนกว่าครึ่งกลับใช้งานไม่เป็นเลยก็มียกตัวอย่างการใช้อย่างพอประมาณ จากฟอร์เวิดเมล์ที่หลาย ๆ คนคงจะเคยได้รับส่งต่อมาบ้าง เป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงของเรา ความว่าเจ้าของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พีซีที ในช่วงนั้นจะทูลเกล้าถวายเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้พระองค์ เนื่องจากเห็นว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องเก่านั้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว จึงอยากถวายเครื่องใหม่ที่ทันสมัยกว่าให้พระองค์ แต่ในหลวงก็ทรงรับสั่งกลับไปว่า เครื่องนี้ก็ยังใช้ได้ดีอยู่ไม่จำเป็นที่จะเปลี่ยนเพราะใช้แค่การโทรอย่างเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังทรงรับสั่งว่าควรรู้จักที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้เท่าที่จำเป็น ต้องตระหนักว่ามีไว้ใช้เพื่ออะไร “ Tool or Toy” จากฟอร์เวิดเมล์นี้สะท้อนให้เห็นว่าขนาดท่านที่เป็นถึงพระมหากษัตริย์ ท่านจะมีสิ่งใดที่มีค่าเลิศล้ำหรือจะใช้ของที่มีราคาแพงเท่าไหรก็ได้ แต่ในหลวงของเราท่านใช้อย่างพอประมาณ ใช้อย่างรู้ค่าว่าใช้เพื่อประโยชน์อะไร มีไว้ใช้ไม่ได้มีไว้เป็นของเล่น อย่างคนยุคนี้สมัยนี้ที่บริโภคเทคโนโลยีเกินกว่าความจำเป็น ต้องวิ่งไล่ให้ทันเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเลยก็เป็นได้การจัดการกับไอทีโดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประการที่สองคือ การมีเหตุมีผล ซึ่งจะเกี่ยวกับการตัดสินใจว่า อะไรคือจุดที่เหมาะสม หรือความพอประมาณ เนื่องจากว่าเราเป็นประเทศที่ยังต้องนำเข้าเทคโนโลยีด้านไอทีจากต่างปรเทศอยู่ ดังนั้นเราจึงต้องตกอยู่ในสถานะเป็นผู้ตามหรือผู้บริโภคเทคโนโลยี นับว่าเป็นการพึ่งพาที่ยากจะได้เปรียบ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพิง เราจึงต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ว่าจะซื้ออะไร จำนวนเท่าไร ตรงจุดนี้เองที่ความรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เหตุผลในการตัดสินใจที่จะเลือกสิ่งต่างๆ หากไม่มีความรู้รู้ไม่จริงก็ย่อมที่จะเสียเปรียบ ตลอดจนเรื่องของภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งควรพิจารณาให้รอบคอบมากที่สุด เนื่องจากการที่เราซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาตินั้น เราไม่เพียงแค่ว่าซื้อเท่านั้นแต่ยังเป็นการนำเอาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบต่างชาติเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตอย่างรีบเร่ง การแข่งขันกันเหล่านี้ทำให้สังคมไทยถูกครอบงำไปด้วยวัฒนธรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมที่เป็นอยู่ การใช้โปรแกรมสนทนาพูดคุยก็ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งควรพิจารณาให้รอบคอบมากที่สุด เนื่องจากการที่เราซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาตินั้น เราไม่เพียงแค่ว่าซื้อเท่านั้นแต่ยังเป็นการนำเอาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบต่างชาติเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตอย่างรีบเร่ง การแข่งขันกันเหล่านี้ทำให้สังคมไทยถูกครอบงำไปด้วยวัฒนธรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมที่เป็นอยู่ การใช้โปรแกรมสนทนาพูดคุยกันทางอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่าแชท นั้น ทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ก็จริงแต่ก็มีทั้งดีและไม่ดี ประกอบกับความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จึงเกิดเหตุการณ์ตามข่าวที่ออกมาบ่อยๆ ว่ามีการล่อหลวงจากผู้ที่ทำความรู้จักกันทางอินเตอร์เน็ตอยู่เสมอ ในทางตรวกันข้ามหากทุกคนใช้ความรู้รวมถึงการมีสติความรอบคอบในการระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น ผลดีก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง เรียกว่าใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์และเกิดคุณค่ามากที่สุดนั่นเองสรุปแล้วการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่อย่างเกินพอดีนั้น เป็นการเดินทางสายกลาง เป็นการใช้เหตุผลและมองไปข้างหน้าอย่างมีเหตุผลโดยใช้ความคิดมาพิจารณาอย่างถ่องแท้และลงมือทำ โดยตระหนักถึงกรอบของคำว่าคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อมิให้เกิดปัญหาและความขัดแย้ง อันจะนำมาซึ่งปัญาอื่นๆ ตามมา ถือเป็นการดำเนินแนวทางที่มีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น