วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีชักพระ(ลากพระ)

ประเพณีชักพระ(ลากพระ)
ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์  พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
                                ประวัติความเป็นมา
                                ประเพณีชักพระเป็นประเพณีทพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา  สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอา เทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ  ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา  ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันได ทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดา มาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์ บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลานได้มารอรับเสด็จ อย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง ข้าไปถวายเป็น ที่โกลาหล โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์ ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงเกิด ประเพณี "ห่อต้ม" "ห่อปัด" ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์

                                  เรือพระ
                                 เรือพระ คือ รถหรือล้อเลื่อนที่ประดับตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบก ซึ่งภาษาพื้นเมืองของภาคใต้เรียกว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" ใช้สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานแล้วลากในวันออกพรรษา  ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระน้ำ" ส่วนลากพระทางบก เรียกว่า "เรือพระบก" สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือ ให้คล้ายเรือจริง ๆ และต้องทำให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงใช้ไม้ไผ่สานมาตกแต่งส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือ   แล้วตกแต่งเป็นรูปพญานาค ใช้กระดาษสีเงินสีทองทำเป็นเกล็ดนาค กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า"  ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ บุษบก ซึ่งแต่ละที่จะมีเทคนิคการออกแบบบุษบก  มีการประดิษประดอยอย่างมาก หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข  ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา และทุกครอบครัวต้องเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาในกระพ้อ และข้าวสารข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"
                           

การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนบุษบก
                                 พระลาก คือ พระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยม คือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระและเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบก แล้วพระสงฆ์จะ เทศนา เรื่อง การเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า  ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในตอนเช้ามืด ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า "ตักบาตรหน้าล้อ" แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน บนนมพระ


พระพุทธรูปยืน
ลากพระบก
                                ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย  ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ  คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสาน เสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง  ตัวอย่างบทร้องที่ใช้ลากพระ คือ  อี้สาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ
การลากพระบก
ลากพระน้ำ
                                การลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สะดวกในการลากพระ  ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือ ที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อำเภอพุนพินและ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยเฉพาะอำเภอหลังสวนและที่บ้านแหลมโพธิ์ อำเภอหาดใหญ่ จะมีการเล่นเพลงเรือ ที่ขึ้นชื่อ ส่วนที่อำเภอปากพนังมีการเล่น "ซัดหลุม" (ซัดโคลน) กันสนุกสนานเพราะที่ปากพนังมีโคลนตมมาก การลากพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน 3 วัน ระหว่างแรม 8 ค่ำถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 11 มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาว มีการเล่นเพลงเรือ และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน





ประเพณีการชักพระ





วงดนตรีประกอบขบวนชักพระ






เนื้อร้อง
เนื้อเพลง ชักพระ สันติภาพ แสงจันทร์ ณ เมืองคอน
สันติภาพ - ชักพระ 
เสียงกองกึกก้องดังระรัว เมฆฝนก่อตัวตั้งเค้ามา 
หน้าฝนไม่ได้กรีดยางพารา วันออกพรรษาร่วมกันทำบุญ 
ครั้นพุทธกาลนานผ่านมา พ่อเฒ่าแม่เฒ่าเล่ามา 
เข้าช่วงฤดูทำนาแรมค่ำ 11 แล้วหนา ชักพระ 

เอ้าเพื่อน เอ้า เอ้าบ่าวเอ้า เอ้าสาวเอ้า 
หนุ่มสาวออกมาร่วมร้องรำ พ่อแกแม่ฉันยังต้องมา 
ข้าวต้มมัดเรียงแขวนไว้ชายคา ตกแต่งเรือพระให้ดูสวยงาม 
ร่วมแรงร่วมดึงตามเสียกลองโยน เปื้อนสีเปื้อนโคลนเป็นธรรมดา 
ร้องเพลงรำวง โยกย้ายลีลาสองมือช่วยดึงสองขาวิ่งพา เอ้าชักพระ 

ชักพระ ชักพระ ชักพระ ชักพระ 
อีสาวละพา เฮโล เฮโล อีสาวละพา เฮโล เฮโล 
มาแล้วละวา เฮโล เฮโล มาละเว้อ 

ตักบาตร สรงน้ำทำบุญร่วมกัน แบ่งบุญแบ่งปันด้วยกันทุกคน 
ด้วยจิตศรัทธาขอบังเกิดผล ประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นแรงใจ 
ร่วมใจรักษ์ประเพณีวันนี้วันดีของสังคมไทย 
ลูกๆหลานๆ จะจำเอาไว้ทางบกแห่ได้ทางน้ำแห่ดี 

เอ้าชักพระ ชักพระ ชักพระ ชักพระ ชักพระ 
อีสาวละพา เฮโล เฮโล อีสาวละพา เฮโล เฮโล 
มาแล้วละวา เฮโล เฮโล มาแล้วละวา 
เฮโล เฮโล ถึงวัดละวา เฮโล เฮโล ถึงวัดละเว้อ





ภาพที่แนบมา

งานประเพณี ชักพระ – ทอดผ้าป่า สุราษฎร์ธานี 2555



     














แหล่งอ้างอิง
 













วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ICT กับ อาเซียน

ไอซีที ร่วมจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 
 
 นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านไอซีทีเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการวางกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านไอซีที โดยการจัดทำแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน (ASEAN ICT MASTERPLAN 2015) หรือ AIM 2015 ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงานและแนวทางความร่วมมือด้านไอซีทีของอาเซียนในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558
แผนแม่บทฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้มีความแข็งแกร่งและสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยได้กำหนดเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ คือ 1) ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้อาเซียนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2) อาเซียนได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีแห่งหนึ่งของโลก 3) ประชากรอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 4) ไอซีทีมีส่วนช่วยส่งเสริมการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน รวมทั้งได้มีการวางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (Economic transformation) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างศักยภาพให้แก่ประชาชน (People empowerment and engagement) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure development) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital development) และยุทธศาสตร์ที่ 6 การลดช่องว่างทางด้านดิจิทัล (Bridging the digital divide)
“กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานหลักด้านไอซีทีของประเทศไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญของแผนแม่บทไอซีทีของอาเซียน จึงเข้าไปร่วมผลักดันการดำเนินงานในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้วยการริเริ่มเสนอแนวความคิดจัดทำแผนทิศทางการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (ASEAN e-Services Roadmap) ซึ่งที่ประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 10 ได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดทำแผน โดยจะมุ่งเน้นไปที่การผลักดันให้เกิดการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Services) ในประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ ให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างกันเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ และภาคธุรกิจต่างๆ ซึ่งสอดรับกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2558” นางเมธินี กล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินการนั้นจะเริ่มตั้งแต่การศึกษาและสำรวจสถานะการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมทั้งแผนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ สำรวจความต้องการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของประชาชน และภาคธุรกิจ ตลอดจนศึกษาถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่จะพัฒนาเป็นบริการร่วม (Shared services) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
“กระทรวงฯ ได้ทำการศึกษากรอบแนวทาง (Framework) และกรณีศึกษาการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอื่นๆ อาทิ APEC EU ฯลฯ และนำข้อมูลมาใช้ประกอบการจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ และบริการอิเล็กทรอนิกส์ร่วมระหว่างประเทศ โดยจะมีการเสนอแนะมาตรการในการส่งเสริม และจูงใจให้มีการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาเนื้อหา (Content) ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจในอาเซียนใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย ซึ่งการจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap นี้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง” นางเมธินี กล่าว
สำหรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสามารถพัฒนาเป็นบริการร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) บริการการเคลื่อนย้ายบุคคล (Movement of people) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดทำ Roadmap นี้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคคล ทั้งในด้านของการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement: MRA) เพื่ออำนวยความสะดวกในการยอมรับคุณสมบัติของนักวิชาชีพ โดยมีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพที่สำคัญร่วมกัน เพื่อการถ่ายเทแรงงานที่มีฝีมือได้โดยเสรี มากขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวก โดยลดขั้นตอนและกระบวนการทางเอกสารในการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน
นอกจากนี้ในด้านการเดินทางระหว่างประเทศ การพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมือง และลดปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเปิดเสรีการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยจะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในกระบวนการออกวีซ่าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การจัดทำ ASEAN Single Visa รวมทั้งการส่งเสริมการตลาดร่วมกันเพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียนในฐานะแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน (ASEAN Single Destination)
2) การเคลื่อนย้ายสินค้า (Movement of goods) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำ ASEAN e-Services Roadmap จะมีส่วนสนับสนุนให้การพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า – ส่งออก ด้วยระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว หรือระบบ ASEAN Single Window ที่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการพัฒนาในประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ให้สามารถขยายการพัฒนาไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ครบทุกประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรต่างๆ อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้าของอาเซียน ในปี 2558
 
**การแต่งกายของประเทศต่างๆในอาเซียน**
 
 
thailand


 

 ชุดแต่งกายประจำชาติไทย
 
cambodia


 

ชุดแต่งกายประจำชาติกัมพูชา  
 
indonisiaload
ชุดแต่งกายประจำชาติอิโดนีเซีย

malasia
ชุดแต่งกายประจำชาติมาเลเซีย

laos
ชุดแต่งกายประจำชาติลาว

myanmar
ชุดแต่งกายประจำชาติพม่า

Philipines
ชุดแต่งกายประจำชาติฟิลิปินส์

singkapore
ชุดแต่งกายประจำชาติอินโดนีเซีย

vietnam
ชุดแต่งกายประจำชาติเวียดนาม

bruneipicture
ชุดแต่งกายประจำชาติบรูไน

ชุดแต่งกายประจำชาติของแต่ละประเทศในอาเซียนนั้นสะท้อนให้เราเห็น วัฒนธรรม สังคมที่หลากหลายของแต่ละประเทศส่วนใหณ่นั้นมีอิทธิพลมาจากการนับถือศาสนาซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบวัฒนธรรม สังคม ประเพณีของแต่ละประเทศซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันออกไปอยู่บ้าง
 

ไอโฟน

ไอโฟน

Iphone4s black.jpg

ไอโฟน (อังกฤษ: iPhone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล โดยการทำงานของไอโฟนสามารถใช้งานส่งอีเมล ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งเอสเอ็มเอส ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์ซาฟารี ค้นหาแผนที่ ฟังเพลง และความสามารถอื่น โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย Wi-Fi (802.11b/g) บลูทูธ 2.0 และกล้องถ่ายภาพ 2.0-megapixel ไอโฟนรุ่นแรกมีลักษณะ 2.5G quad band GSM และ EDGE และรุ่นที่สองใช้ UMTS และ HSDPA
แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550[2] โดยมีรุ่นถัดมาคือ ไอโฟน 3G และ ไอโฟน 3GS และไอโฟน 4 ได้เปิดตัวในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ไอโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดในปัจจุบันคือ iPhone 5 ซึ่งมีเป็นรุ่นที่สมบูรณ์ที่สุดในขณะนี้

การทำงานของไอโฟน

การทำงานของโทรศัพท์ไอโฟนนี้จะแตกต่างจากโทรศัพท์มือถืออื่น โดยไอโฟนจะไม่มีปุ่มสำหรับกดหมายเลขโทรศัพท์ โดยการทำงานทั้งหมดจะทำงานผ่านหน้าจอโดยการสัมผัสมัลติทัชผ่านคำสั่งต่างๆ โดยมีระบบปฏิบัติการหลัก iOS และมีระบบเซ็นเซอร์ในการรับรู้สภาพของเครื่องเพื่อกำหนดการแสดงผลของจอภาพ เช่นหากวางเครื่องในแนวตั้งระบบก็จะปรับให้แสดงผลในแนวตั้ง หากวางในแนวนอนระบบก็จะแสดงผลในแนวนอน

รุ่น
การวางจำหน่าย

ไอโฟนเริ่มมีวางจำหน่ายครั้งแรกเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยร่วมมือกับเครือข่ายเอทีแอนด์ทีไวร์เลสส์ (ในขณะนั้นในชื่อ ซิงกิวลาร์ไวร์เลสส์) โดยก่อนวันจำหน่ายร้านแอปเปิลได้ปิดร้านในช่วง 14 นาฬิกาเพื่อเตรียมตัวขายไอโฟนในเวลา 18 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ใช้รอคิวเข้าซื้อเป็นจำนวนมาก[3] โดยทางแอปเปิลขายไอโฟนได้ 270,000 เครื่อง ในช่วง 30 ชั่วโมงแรกที่เปิดจำหน่าย[4] โดยในปัจจุบันไอโฟนรุ่นแรกมีวางจำหน่ายในหกประเทศได้แก่ ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสหรัฐอเมริกา
โดยในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ไอโฟนรุ่นใหม่ หรือที่รู้จักในชื่อ ไอโฟน 3G จะมีการวางจำหน่ายใน 22 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 6 ประเทศที่มีวางจำหน่ายแล้ว และหลังจากนั้นจะมีวางจำหน่ายเพิ่มขึ้นอีกใน 48 ประเทศทั่วโลก รวมเป็นทั้งหมด 70 ประเทศ โดยในอาเชียนจะมีประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ที่มีการจำหน่ายไอโฟนอย่างเป็นทางการ[5] โดยในสหรัฐอเมริกานั้น ผู้ซื้อไอโฟนรุ่นใหม่จำเป็นต้องจดสัญญากับเอทีแอนด์ทีเป็นระยะเวลาสองปี
ประเทศไทยเริ่มมีการวางจำหน่ายไอโฟน 3G ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยทรูมูฟ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การจำหน่ายเป็นรายแรกในประเทศไทย และมีงานเปิดตัวระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม พ.ศ. 2552 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน[1] และดีแทคเป็นรายที่สองที่ได้สิทธิ์การจัดจำหน่าย โดยมีการเปิดตัวพร้อมจำหน่ายเครื่องวันแรก เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ ลานพาร์กพารากอน สยามพารากอน
และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 0.00 น. ไอโฟน 4 ได้เปิดตัวในประเทศไทย โดยทรูมูฟ, ดีแทค และ AIS เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การจำหน่ายในประเทศไทย



วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง


ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง
   “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์                  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีใครหลายคนอาจเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงคงนำไปประยุกต์ใช้ได้แค่การเกษตรกรรม ปลูกพืชทำสวนเก็บกินกันอย่างเพียงพอ มีใช้มีกินแค่ครัวเรือนเท่านั้น หากแต่ว่าในปัจจุบันมีการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับด้านอื่นๆ อีกด้วย รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยุคสมัยปัจจุบันสังคมโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของคนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การโทรคมนาคม การใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นต้น ฉะนั้นจึงแยกไม่ออกกันเลยทีเดียวระหว่างความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศกับมนุษย์แต่ท่ามกลางกระแสที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้รุดหน้าไปอย่างก้าวไกลยิ่งขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็ถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย สังคมทุนนิยมในปัจจุบันปลุกให้มนุษย์ดำรงชีวิตกันอย่างความไม่รู้จักคำว่า “เพียงพอ” มีเท่านี้จะเอาเท่านั้น ไม่มีเลยก็ยิ่งจะดิ้นรนเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ เช่นเดียวกันกับการบริโภคเทคโนโลยีฯ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างเช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ ในปัจจุบันมีการแจกซิมการ์ดและโฆษณาชวนเชื่อให้ใช้งาน โดยการนำเอาโปรโมชั่นส่งเสริมการขายโดยเอาอัตราราคาการใช้งานมาเป็นตัวล่อ เพื่อให้มีลูกค้ามาใช้บริการเครือข่ายของตัวเองมากขึ้น โดยหารู้ไม่ว่าเราได้ซิมการ์ดมาฟรีๆ แต่ต้องมาเสียค่าบริการโทรศัพท์เอาเอง แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้อย่างไร ข้อเสียอีกอย่างของการมีซิมการ์ดมากกว่า 1 หมายเลขคือการที่ต้องมีโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อมารองรับจำนวนของซิมการ์ดที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้จำเป็นต้องหาซื้อโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น เรื่องของค่านิยมการใช้โทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนในสังคมตอนนี้ต่างหลงใหลไปกับวัตถุนิยม โทรศัพท์มือถือมิใช่มีไว้เพียงใช้ในการติดต่อสื่อสารโทรออกและรับสายเพียงอย่างเดียวแล้ว หากแต่ยังถูกใช้งานโดยการเพิ่มลูกเล่นและฟังก์ชั่นอื่นๆเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะกล้องถ่ายรูป มัลติมีเดียแมสเสจ การดูหนัง รายการทีวี ฟังเพลง บลูทูธ เอ็ดจ์ เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ ผู้บริโภคก็ต้องก้าวตามให้ทันอยู่เสมอ เพราะถ้าตามไม่ทันไม่มีไว้ใช้ก็เหมือนกับว่าเป็นคนล้าสมัย เข้าสังคมกับใครเขาก็ไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นค่านิยมที่ผิดๆ ที่วัยรุ่นสมัยนี้มักนิยมที่จะตามให้ทันสมัยอยู่ตลอด โดยไม่คำนึงถึงว่าได้ใช้งานอย่างเป็นประโยชน์หรือไม่ หรือเป็นวัตถุนิยมเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้นบางคนก็ใช้ไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ยิ่งจะทำให้เทคโนโลยีนั้นดูลดน้อยด้อยค่าลงไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการดูสื่อลามกอนาจาร การเผยแพร่ภาพโป๊ การส่งวีดีโอคลิปลามกผ่านทางมือถือโดยมัลติมีเดียแมสเสจ การส่งต่อภาพอนาจารกันผ่านบลูทูธ ตลอดไปจนอาชญากรรมการบังคับขืนใจโดยถ่ายภาพเหยื่อที่ถูกกระทำและมีการส่งต่อกันเป็นคลิปวีดีโอหรือไฟล์ภาพส่งต่อๆกันหรือนำไปขายซึ่งนำมาถึงความอับอายเสียหายต่อผู้ถูกกระทำ ปัญหาเหล่านี้อยู่ที่การ “เลือก” ที่จะใช้อย่างเหมาะสม ไม่ได้อยู่ที่ว่าการจะใช้ให้มากที่สุด การที่เราเลือกที่จะใช้อย่างเป็นประโยชน์ ไม่ก่อความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น ใช้อย่างมีสติ จะเกิดประโยชน์ไม่เกิดโทษและพิษภัยอันตรายต่อผู้อื่น แล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะมาสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรกัน คำตอบก็คือเรานำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้มาจัดการกับกระแสไอทีที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้เลยทีเดียว ประการแรก ควรบริโภคไอทีอย่างพอประมาณ ไม่มากไม่น้อยเกินไป เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลต่างๆ มีมากมาย บางครั้งก็มากเกินไป เราจึงต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคในการกลั่นกรองข้อมูลเหล่านั้น เช่น การใช้บริการค้นหาข้อมูลหรือเซิร์ช เอนจิ้น ให้มีความชำนาญ สามารถหาข้อมูลที่มีคุณภาพและทำให้เสียเวลาไม่มากในการหาข้อมูลที่ต้องการ แต่ก็ต้องมีคุณธรรมเป็นกรอบแนวทางด้วยในการที่จะไม่ลักลอบเอาข้อมูลที่เป็นความลับมาเผยแพร่ หรือการปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อทำลายระบบ และควรใช้อย่างเหมาะสมตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งาน เราอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุด แต่เรารู้จักที่จะเลือกใช้รุ่นที่เราจะใช้งานได้ประโยชน์สูงสุด บางองค์กรหมดเงินลงทุนไปกับระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศไปหลายล้านบาท แต่พนักงานในองค์กรบางคนกว่าครึ่งกลับใช้งานไม่เป็นเลยก็มียกตัวอย่างการใช้อย่างพอประมาณ จากฟอร์เวิดเมล์ที่หลาย ๆ คนคงจะเคยได้รับส่งต่อมาบ้าง เป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงของเรา ความว่าเจ้าของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พีซีที ในช่วงนั้นจะทูลเกล้าถวายเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้พระองค์ เนื่องจากเห็นว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องเก่านั้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว จึงอยากถวายเครื่องใหม่ที่ทันสมัยกว่าให้พระองค์ แต่ในหลวงก็ทรงรับสั่งกลับไปว่า เครื่องนี้ก็ยังใช้ได้ดีอยู่ไม่จำเป็นที่จะเปลี่ยนเพราะใช้แค่การโทรอย่างเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังทรงรับสั่งว่าควรรู้จักที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้เท่าที่จำเป็น ต้องตระหนักว่ามีไว้ใช้เพื่ออะไร “ Tool or Toy” จากฟอร์เวิดเมล์นี้สะท้อนให้เห็นว่าขนาดท่านที่เป็นถึงพระมหากษัตริย์ ท่านจะมีสิ่งใดที่มีค่าเลิศล้ำหรือจะใช้ของที่มีราคาแพงเท่าไหรก็ได้ แต่ในหลวงของเราท่านใช้อย่างพอประมาณ ใช้อย่างรู้ค่าว่าใช้เพื่อประโยชน์อะไร มีไว้ใช้ไม่ได้มีไว้เป็นของเล่น อย่างคนยุคนี้สมัยนี้ที่บริโภคเทคโนโลยีเกินกว่าความจำเป็น ต้องวิ่งไล่ให้ทันเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตเลยก็เป็นได้การจัดการกับไอทีโดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประการที่สองคือ การมีเหตุมีผล ซึ่งจะเกี่ยวกับการตัดสินใจว่า อะไรคือจุดที่เหมาะสม หรือความพอประมาณ เนื่องจากว่าเราเป็นประเทศที่ยังต้องนำเข้าเทคโนโลยีด้านไอทีจากต่างปรเทศอยู่ ดังนั้นเราจึงต้องตกอยู่ในสถานะเป็นผู้ตามหรือผู้บริโภคเทคโนโลยี นับว่าเป็นการพึ่งพาที่ยากจะได้เปรียบ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพิง เราจึงต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ว่าจะซื้ออะไร จำนวนเท่าไร ตรงจุดนี้เองที่ความรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เหตุผลในการตัดสินใจที่จะเลือกสิ่งต่างๆ หากไม่มีความรู้รู้ไม่จริงก็ย่อมที่จะเสียเปรียบ ตลอดจนเรื่องของภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งควรพิจารณาให้รอบคอบมากที่สุด เนื่องจากการที่เราซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาตินั้น เราไม่เพียงแค่ว่าซื้อเท่านั้นแต่ยังเป็นการนำเอาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบต่างชาติเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตอย่างรีบเร่ง การแข่งขันกันเหล่านี้ทำให้สังคมไทยถูกครอบงำไปด้วยวัฒนธรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมที่เป็นอยู่ การใช้โปรแกรมสนทนาพูดคุยก็ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายใน ซึ่งควรพิจารณาให้รอบคอบมากที่สุด เนื่องจากการที่เราซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาตินั้น เราไม่เพียงแค่ว่าซื้อเท่านั้นแต่ยังเป็นการนำเอาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบต่างชาติเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตอย่างรีบเร่ง การแข่งขันกันเหล่านี้ทำให้สังคมไทยถูกครอบงำไปด้วยวัฒนธรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมที่เป็นอยู่ การใช้โปรแกรมสนทนาพูดคุยกันทางอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่าแชท นั้น ทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ก็จริงแต่ก็มีทั้งดีและไม่ดี ประกอบกับความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จึงเกิดเหตุการณ์ตามข่าวที่ออกมาบ่อยๆ ว่ามีการล่อหลวงจากผู้ที่ทำความรู้จักกันทางอินเตอร์เน็ตอยู่เสมอ ในทางตรวกันข้ามหากทุกคนใช้ความรู้รวมถึงการมีสติความรอบคอบในการระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น ผลดีก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง เรียกว่าใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์และเกิดคุณค่ามากที่สุดนั่นเองสรุปแล้วการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับปัญหาที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่อย่างเกินพอดีนั้น เป็นการเดินทางสายกลาง เป็นการใช้เหตุผลและมองไปข้างหน้าอย่างมีเหตุผลโดยใช้ความคิดมาพิจารณาอย่างถ่องแท้และลงมือทำ โดยตระหนักถึงกรอบของคำว่าคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อมิให้เกิดปัญหาและความขัดแย้ง อันจะนำมาซึ่งปัญาอื่นๆ ตามมา ถือเป็นการดำเนินแนวทางที่มีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน